อย่ามองข้าม 5 อาการปวด สัญญาณเตือนบ่งบอกโรค

อย่ามองข้าม 5 อาการปวด สัญญาณเตือนบ่งบอกโรค

    ติดต่อตัวแทน (สอบถามการจัดส่งฟรี)  


ภาพปก

อาการปวดหลังแบบไหน บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง?

ปวดหลังแบบกว้างๆ ก้มหรือแอ่นหลังไม่ได้ – โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน
โรคนี้ไม่ได้เกิดหรือเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังโดยตรง แต่เป็นที่กล้ามเนื้อหลังโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหลังถูกใช้งานมากเกินไป เกิดอุบัติเหตุโดนกระแทกที่หลัง การเล่นกีฬาอย่างหนัก จนทำให้กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลันทันที โดยอาการที่พบจะปวดเกร็งหลัง ปวดตึงหลัง จนต้องแอ่นหลังตลอดเวลา รู้สึกปวดหลังแบบกว้างๆ ระบุตำแหน่งชัดเจนไม่ได้ รวมทั้งอาการยังคล้ายหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขา


ปวดหลังร้าวลงขา ไอ จาม หรือเบ่งจะยิ่งปวด – โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากเจลในหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง หรือรากประสาท ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่งทำงานอยู่ในท่านั่งเดิมเป็นเวลานาน แล้วไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบถ รวมถึงความเสื่อมตามธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นอาการออฟฟิศซินโดรม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังรุนแรง ปวดมากจนไม่อาจขยับตัวได้ ปวดหลังร้าวลงขา ปวดขณะไอ จาม รวมไปถึงอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการชา ขาอ่อนแรง มีอาการผิดปกติในการควบคุมปัสสาวะและ อุจจาระ มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาแข็งเกร็ง เป็นต้น

 

ปวดหลังแบบขัดๆ ภายในข้อ ปวดลึก ปวดเสียว - โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป

โรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นเป็นภาวะที่กระดูกสันหลังทรุดตัว จากข้อต่อ Facet joint ที่ทำหน้าที่เชื่อมกระดูกชิ้นบนกับชิ้นล่างที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เกิดเสื่อมลง เป็นผลให้ข้อกระดูกชิ้นบนกับชิ้นล่างอยู่ชิดกันมากเกินไป หากเป็นในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเมื่อใดที่ข้อต่อนั้นเสื่อมสภาพลงมากจนทำให้กระดูกสันหลังทรุดตัวลงเพิ่มมากขึ้น จะมีอาการปวดหลัง เมื่อใช้มือกดไปที่ข้อกระดูกสันหลังตรงๆ จะรู้สึกปวดลึก ปวดเสียว และรู้สึกขัดๆ ภายในข้อ สามารถชี้ระบุตำแหน่งได้ชัดเจน หลังแข็งก้มหลังได้น้อยลง บางครั้งอาจเกิดกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งค้าง จนนำไปสู่อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบได้

 

ปวดหลังส่วนล่าง ปวดร้าวลงสะโพก ก้น ต้นขา – โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้ามากกว่าปกติ โดยมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

เกิดจากข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม อุบัติเหตุที่มีการกระแทกต่อกระดูกสันหลังโดยตรงจนทำให้ข้อเคลื่อน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่อ้วนลงพุง ผู้ที่ทำงานต้องก้มๆ เงยๆ เป็นประจำ และอาจเกิดจากติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เช่น วัณโรคกระดูกหลัง เป็นต้น โดยมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดมากเมื่อยืนหรือเดิน ผู้ที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนมาก จะมีอาการปวดร้าวลงสะโพก ก้น ต้นขา แต่ถ้ากระดูกเคลื่อนไปโดนเส้นประสาทจะมีอาการขาชา และขาอ่อนแรงร่วมด้วย

 

ปวดหลังเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง – โรคไต โรคนิ่ว

โรคไต โรคนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นอีกสาเหตุความผิดปกติภายในร่างกายที่นำไปสู่อาการปวดหลังบริเวณเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง

จุดสังเกตจากอาการปัสสาวะขุ่น แสบ ขัด มีไข้ นอกจากนี้โรคกระเพาะ ลำไส้ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ก็ส่งให้เกิดอาการปวดหลังบริเวณนี้เช่นกัน แต่โรคเหล่านี้มักจะมีอาการปวดท้องควบคู่กันด้วย

 

เนื้อหาเพิ่มเติม บำรุงกระดูก ด้วย 7 สารสกัดที่สำคัญของ U-Profex

#อาการปวด   #อาการบวม   #อาการเคลื่อนไหว   #ไม่ได้ดังใจ   #Uni-Oil  

Product Health & Wellness

ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ